วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้า
    • สินค้า หมายถึง สินทรัพย์หรือสิ่งที่กิจการค้ามีไว้เพื่อจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรจากการจำหน่ายสินค้า สินค้าถือเป็นสินทรัพย์
    • ส่งคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ซื้อ เป็นรายการที่ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอยู่ในหมวด ค่าใช้จ่าย จะบันทึกทางด้าน Cr. เสมอ
    • รับคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ขาย เป็นรายการที่ทำให้รายได้ลดลงอยู่ในหมวด รายได้ จะบันทึกบัญชี Dr.เสมอ
    • ส่วนลดการค้า คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ทันที่ที่ตกลงซื้อขายกันไม่มีการบันทึกส่วนลดการค้าในบัญชีใดๆ จำนวนเงินที่บันทึกรายการซื้อและขายนั้นจะใช้จำนวนเงินที่หักส่วนลดแล้ว
    • ส่วนลดเงินสด คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ตามกำหนดทางด้ายผู้ขายเรียกว่า “ส่วนลดจ่าย” ด้านผู้ซื้อเรียกว่า ส่วนลดรับ เช่น 2/10,N/30 หมายถึง ผู้ซื้อจ่ายชำระภายใน 10 วันจะได้รับส่วนลด 2% กำหนดชำระหนี้ต้องไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ลงในใบกำกับสินค้า
    • F.O.B shipping point หรือค่าขนส่งเข้า อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายถือเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ
    • F.O.B destination หรือค่าขนส่งออก อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ขายเป็นผู้จ่าย
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกย่อๆว่า VAT หมายถึงภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วยภาษีซื้อ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ และภาษีขายซึ่งถือว่าเป็นหนี้สิน

สมุดรายวันเฉพาะ

 
สมุดรายวันเฉพาะ (Specialized journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้น ในลักษณะอย่างเดียวกัน แบ่งออกเป้น 2 ประเภทคือ
สมุดรายวันเฉพาะสำหรับบันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับสินค้า  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อโดยต้องเป็นกิจการที่
ใช้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic  inventory system)  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

          สมุดรายวันซื้อ (Purchases  Journal)  เป็นขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น

 สมุดรายวันขาย (Sales  Journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้สมุดรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น



สมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด (Purchases return & allowances journal)  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการส่งคืนสินค้า ในกรณีที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ



สมุดรายวันรับคืนและส่วนลด (Sales return & allowances journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการรับคืนสินค้าในกรณีที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ


สมุดรายวันเฉพาะสำหรับบันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการเงิน  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช่บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการรับและจ่ายเงินสด หรือฝากธนาคารของกิจการ  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
 สมุดรายวันรับเงิน (Cash receipts journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการรับเงินสดหรือ
ฝากธนาคาร
 
 
สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash disbursement journal or Cash payment journal) เป็นสมุดขั้นต้นแบบเดียวกันกับสมุดรับเงิน โดยเป็นการบันทึกรายการจ่ายเงินสดหรือถอนเงินจากธนาคาร และใช้ควบคู่กับสมุดรายวันรับเงิน
 
 
 
สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (Accounts Receivable Ledger)  เป็นสมุดบัญชีแยกประเภทที่จะให้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับลูกหนี้ของกิจการว่ามีใครบ้าง
 
 
 
สมุดบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (Accounts Payable Ledger)  เป็นสมุดบัญชีแยกประเภทย่อยที่จะให้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเจ้าหนี้ของกิจการว่ามีใครบ้าง
 
 

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อซื้อขายสินค้า

         การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อซื้อขายสินค้ามี 2 วิธี คือ วิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) และวิธีบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) สำหรับกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% มีวิธีการบันทึกบัญชีดังต่อไปนี้
รายการ
Perpetual Inventory Method
Periodic Inventory Method
1.  ซื้อสินค้าเดบิตสินค้า                             XX
        ภาษีซื้อ                          XX
        เครดิตเงินสด/เจ้าหนี้การค้า  XX
เดบิตซื้อสินค้า                            XX
        ภาษีซื้อ                              XX
        เครดิตเงินสด/เจ้าหนี้การค้า       XX
2.  ค่าขนส่งเข้าเดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตเงินสด                       XX
เดบิตค่าขนส่งเข้า                       XX
        เครดิตเงินสด                              XX
3.  ส่งคืนสินค้าเดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตสินค้า                         XX
              ภาษีซื้อ                           XX
เดบิตเงินสด                               XX
        เครดิตส่งคืนสินค้า                      XX
              ภาษีซื้อ                                 XX
4.  จ่ายชำระหนี้ และมีส่วนลดรับเดบิตเจ้าหนี้การค้า                  XX
        เครดิตเงินสด/ธนาคาร          XX
                  สินค้า                         XX
เดบิตเจ้าหนี้การค้า                     XX
         เครดิตเงินสด/ธนาคาร              XX
ส่วนลดรับ                                  XX
5.  ขายสินค้า
5.1  บันทึกการขาย

5.2  บันทึกต้นทุนขาย
เดบิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า      XX
        เครดิตขายสินค้า                  XX
ภาษีขาย                              XX
เดบิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า         XX
        เครดิตขายสินค้า                       XX
                   ภาษีขาย                        XX
เดบิตต้นทุนขาย                     XX
        เครดิตสินค้า                        XX
ไม่บันทึกบัญชี
 6.  รับคืน
6.1  บันทึกการรับคืน

6.2  บันทึกต้นทุนของ
สินค้าที่รับคืน  
เดบิตรับคืนสินค้า                   XX
        ภาษีขาย                         XX
        เครดิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า   XX
เดบิตรับคืนสินค้า                       XX
        ภาษีขาย                             XX
        เครดิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า          XX
เดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตต้นทุนขาย                 XX
ไม่บันทึกบัญชี
7.  ค่าขนส่งออกเดบิตค่าขนส่งออก                  XX
        เครดิตเงินสด                       XX
เดบิตค่าขนส่งออก                      XX
        เครดิตเงินสด                               XX
8.  รับชำระหนี้ และมีส่วน
ลดจ่าย
เดบิตเงินสด/ธนาคาร              XX
        ส่วนลดจ่าย                    XX
        เครดิตลูกหนี้การค้า              XX
เดบิตเงินสด/ธนาคาร                  XX
        ส่วนลดจ่าย                        XX
        เครดิตลูกหนี้การค้า                    XX
9.  ต้นทุนขายดูจากยอดคงเหลือของบัญชีต้นทุนขาย ดูจากการคำนวณดังนี้.-
สินค้าคงเหลือต้นงวด                         XX
ซื้อสินค้า                                    XX
บวก ค่าขนส่งเข้า                      XX 
                                                   XX
หัก ส่งคืน          XX
ส่วนลดรับ          XX                  XX      XX
สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย                             XX
หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด                XX
ต้นทุนขาย                                            XX

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้า

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้า
    • สินค้า หมายถึง สินทรัพย์หรือสิ่งที่กิจการค้ามีไว้เพื่อจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรจากการจำหน่ายสินค้า สินค้าถือเป็นสินทรัพย์
    • ส่งคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ซื้อ เป็นรายการที่ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอยู่ในหมวด ค่าใช้จ่าย จะบันทึกทางด้าน Cr. เสมอ
    • รับคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ขาย เป็นรายการที่ทำให้รายได้ลดลงอยู่ในหมวด รายได้ จะบันทึกบัญชี Dr.เสมอ
    • ส่วนลดการค้า คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ทันที่ที่ตกลงซื้อขายกันไม่มีการบันทึกส่วนลดการค้าในบัญชีใดๆ จำนวนเงินที่บันทึกรายการซื้อและขายนั้นจะใช้จำนวนเงินที่หักส่วนลดแล้ว
    • ส่วนลดเงินสด คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ตามกำหนดทางด้ายผู้ขายเรียกว่า “ส่วนลดจ่าย” ด้านผู้ซื้อเรียกว่า ส่วนลดรับ เช่น 2/10,N/30 หมายถึง ผู้ซื้อจ่ายชำระภายใน 10 วันจะได้รับส่วนลด 2% กำหนดชำระหนี้ต้องไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ลงในใบกำกับสินค้า
    • F.O.B shipping point หรือค่าขนส่งเข้า อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายถือเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ
    • F.O.B destination หรือค่าขนส่งออก อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ขายเป็นผู้จ่าย
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกย่อๆว่า VAT หมายถึงภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วยภาษีซื้อ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ และภาษีขายซึ่งถือว่าเป็นหนี้สิน

การปิดบัญชี

การปิดบัญชี
      การบิดบัญชี (Closing Entry) หมายถึง การทำให้ยอดรวมของด้านเดบิตเท่ากับยอดรวมของด้านเครดิตของแต่ละหมวดบัญชี เช่น บัญชีแยกประเภทมียอดคงเหลือด้านเดบิตจะต้องบันทึกด้านเครดิตด้วยจำนวนเงินที่มียอดคงเหลือ หรือถ้ามียอดคงเหลือทางด้านเครดิตในบัญชีแยกประเภท เมื่อต้องการปิดบัญชีในแยกประเภทก็ต้องนะยอดคงเหลือไปปิดด้านเดบิต
ขั้นตอนการปิดบัญชี
  • ปิดบัญชีรายได้ทุกบัญชีเข้าบัญชีกำไรขาดทุน โดย
      เดบิต รายได้......                      XX
                เครดิต กำไรขาดทุน                XX
  • ปิดบัญชีค่าใช้จ่ายทุกบัญชีเข้าบัญชีกำไรขาดทุน โดย
      เดบิต กำไรขาดทุน                  XX
                เครดิต ค่าใช้จ่าย.....                 XX
  • ปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีส่วนของเจ้าของ
      กรณี กำไร (รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย)
      เดบิต กำไรขาดทุน                  XX
                เครดิต ทุน....                           XX
       กรณี ขาดทุน (รายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย)
      เดบิต ทุน....                             XX
                เครดิต กำไรขาดทุน                XX
  • ในกรณีที่มีเงินถอนหรือถอนใช้ส่วนตัว โดย
      เดบิต ทุน....                             XX
                เครดิต ถอนใช้ส่วนตัว                        XX
                การปิดบัญชีหมวดสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) จะต้องปิดโดยการหายอดคงเหลือยกไปงวดหน้า และเมื่อเริ่มระยะเวลาบัญชีใหม่จะต้องบันทึกรายการปิดบัญชียอดยกมา ส่วนบัญชีถอนใช้ส่วนตัวมียอดคงเหลือด้านเดบิตผิดเข้าบัญชีทุนงบทดลองหลังปิดบัญชี จะแสดงบัญชีเฉพาะหมวดบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนเท่านั้น

งบการเงิน

  งบการเงิน
            งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินขั้นสุดท้ายของขบวนการทางบัญชี เพื่อให้เป็นสื่อแสดงข้อมูลทางการเงินของกิจการเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของกิจการตามงวดบัญชีและตามฐานะการเงิน
ของกิจการว่ามีรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเท่าไหร่
การแสดงงบการเงินโดยทั่วไปแบ่งเป็น
  • งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
  • งบดุล (Balance Sheet)
งบกำไรขาดทุนและงบดุลนั้นสามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ แบบบัญชี (Account Form) และแบบรายงาน (Report Form)
ขั้นตอนการจัดทำงบการเงิน
  • บรรทัดแรกเขียน  “ชื่อกิจการ”
  • บรรทัดที่สองจะต้องระบุชื่องบว่าเป็น  “งบกำไรขาดทุน” หรือ “งบดุล”
  • บรรทัดที่สาม แสดงรอบระยะเวลา หรือวันที่จัดทำงบ
      ถ้าเป็นงบกำไรขาดทุน จะแสดงเป็นรอบระยะเวลาหรือเป็นงวดเวลา เช่น สำหรับ    1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31       ธันวาคม 2545
      ถ้าเป็นงบดุล จะแสดงวันที่ที่จัดทำ โดยระบุวันใดวันหนึ่ง

กระดาษทำการ

กระดาษทำการ

            กระดาษทำการเป็นกระดาษที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำงบการเงินได้สะดวก และรวดเร็ว โดนนำรายการบัญชีจากงบทดลองมาจำแนกรายการว่า รายการใดที่จะนำไปใช้ในการคำนวณหากำไรขาดทุนก็จะนำไปไว้ในช่องงบกำไรขาดทุน และรายการใดที่จะนำไปแสดงฐานะทางการเงินของกิจการก็จะนำไปไว้ในช่องงบดุล
กระดาษทำการไม่ใช่เป็นการบันทึกบัญชีและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน ดังนั้นกิจการจะทำกระดาษทำการหรือไม่ทำก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะมีหลายชนิด เช่น ชนิด 6 ช่อง ชนิด 8 ช่อง และชนิด 10 ช่อง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับประโยชน์และวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้กระดาษทำการ


ขั้นตอนในการจัดทำกระดาษทำการ 6 ช่อง
  • เขียนหัวกระดาษทำการ 3 บรรทัด
  • นำงบทดลองมาแสดงไว้ในกระดาษทำการ 6 ช่อง
  • ผ่านรายการจากงบทดลองไปใส่งบกำไรขาดทุนและงบดุล
  • รวมยอดงบกำไรขาดทุนและงบดุล
  • หาผลต่างของยอดรวม  ในด้านงบกำไรขาดทุนถ้าเครดิตมากกว่าด้านเดบิตถือเป็นกำไรสุทธิ แล้วนำยอดไปใส่ในงบดุลด้านเครดิต ถ้าด้านเดบิตของงบกำไรขาดทุนมากกว่าด้านเครดิตถือว่าขาดทุนสุทธิ นำยอดขาดทุนไปใส่งบดุลด้านเดบิต
  • รวมยอดเงินในช่องงบกำไรขาดทุน และงบดุลให้เท่า