วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้า
    • สินค้า หมายถึง สินทรัพย์หรือสิ่งที่กิจการค้ามีไว้เพื่อจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรจากการจำหน่ายสินค้า สินค้าถือเป็นสินทรัพย์
    • ส่งคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ซื้อ เป็นรายการที่ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอยู่ในหมวด ค่าใช้จ่าย จะบันทึกทางด้าน Cr. เสมอ
    • รับคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ขาย เป็นรายการที่ทำให้รายได้ลดลงอยู่ในหมวด รายได้ จะบันทึกบัญชี Dr.เสมอ
    • ส่วนลดการค้า คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ทันที่ที่ตกลงซื้อขายกันไม่มีการบันทึกส่วนลดการค้าในบัญชีใดๆ จำนวนเงินที่บันทึกรายการซื้อและขายนั้นจะใช้จำนวนเงินที่หักส่วนลดแล้ว
    • ส่วนลดเงินสด คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ตามกำหนดทางด้ายผู้ขายเรียกว่า “ส่วนลดจ่าย” ด้านผู้ซื้อเรียกว่า ส่วนลดรับ เช่น 2/10,N/30 หมายถึง ผู้ซื้อจ่ายชำระภายใน 10 วันจะได้รับส่วนลด 2% กำหนดชำระหนี้ต้องไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ลงในใบกำกับสินค้า
    • F.O.B shipping point หรือค่าขนส่งเข้า อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายถือเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ
    • F.O.B destination หรือค่าขนส่งออก อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ขายเป็นผู้จ่าย
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกย่อๆว่า VAT หมายถึงภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วยภาษีซื้อ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ และภาษีขายซึ่งถือว่าเป็นหนี้สิน

สมุดรายวันเฉพาะ

 
สมุดรายวันเฉพาะ (Specialized journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้น ในลักษณะอย่างเดียวกัน แบ่งออกเป้น 2 ประเภทคือ
สมุดรายวันเฉพาะสำหรับบันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับสินค้า  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อโดยต้องเป็นกิจการที่
ใช้ระบบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic  inventory system)  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

          สมุดรายวันซื้อ (Purchases  Journal)  เป็นขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น

 สมุดรายวันขาย (Sales  Journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้สมุดรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น



สมุดรายวันส่งคืนและส่วนลด (Purchases return & allowances journal)  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการส่งคืนสินค้า ในกรณีที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ



สมุดรายวันรับคืนและส่วนลด (Sales return & allowances journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการรับคืนสินค้าในกรณีที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ


สมุดรายวันเฉพาะสำหรับบันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการเงิน  เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช่บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการรับและจ่ายเงินสด หรือฝากธนาคารของกิจการ  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
 สมุดรายวันรับเงิน (Cash receipts journal) เป็นสมุดขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการรับเงินสดหรือ
ฝากธนาคาร
 
 
สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash disbursement journal or Cash payment journal) เป็นสมุดขั้นต้นแบบเดียวกันกับสมุดรับเงิน โดยเป็นการบันทึกรายการจ่ายเงินสดหรือถอนเงินจากธนาคาร และใช้ควบคู่กับสมุดรายวันรับเงิน
 
 
 
สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้ (Accounts Receivable Ledger)  เป็นสมุดบัญชีแยกประเภทที่จะให้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับลูกหนี้ของกิจการว่ามีใครบ้าง
 
 
 
สมุดบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (Accounts Payable Ledger)  เป็นสมุดบัญชีแยกประเภทย่อยที่จะให้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเจ้าหนี้ของกิจการว่ามีใครบ้าง
 
 

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อซื้อขายสินค้า

         การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อซื้อขายสินค้ามี 2 วิธี คือ วิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) และวิธีบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) สำหรับกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% มีวิธีการบันทึกบัญชีดังต่อไปนี้
รายการ
Perpetual Inventory Method
Periodic Inventory Method
1.  ซื้อสินค้าเดบิตสินค้า                             XX
        ภาษีซื้อ                          XX
        เครดิตเงินสด/เจ้าหนี้การค้า  XX
เดบิตซื้อสินค้า                            XX
        ภาษีซื้อ                              XX
        เครดิตเงินสด/เจ้าหนี้การค้า       XX
2.  ค่าขนส่งเข้าเดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตเงินสด                       XX
เดบิตค่าขนส่งเข้า                       XX
        เครดิตเงินสด                              XX
3.  ส่งคืนสินค้าเดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตสินค้า                         XX
              ภาษีซื้อ                           XX
เดบิตเงินสด                               XX
        เครดิตส่งคืนสินค้า                      XX
              ภาษีซื้อ                                 XX
4.  จ่ายชำระหนี้ และมีส่วนลดรับเดบิตเจ้าหนี้การค้า                  XX
        เครดิตเงินสด/ธนาคาร          XX
                  สินค้า                         XX
เดบิตเจ้าหนี้การค้า                     XX
         เครดิตเงินสด/ธนาคาร              XX
ส่วนลดรับ                                  XX
5.  ขายสินค้า
5.1  บันทึกการขาย

5.2  บันทึกต้นทุนขาย
เดบิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า      XX
        เครดิตขายสินค้า                  XX
ภาษีขาย                              XX
เดบิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า         XX
        เครดิตขายสินค้า                       XX
                   ภาษีขาย                        XX
เดบิตต้นทุนขาย                     XX
        เครดิตสินค้า                        XX
ไม่บันทึกบัญชี
 6.  รับคืน
6.1  บันทึกการรับคืน

6.2  บันทึกต้นทุนของ
สินค้าที่รับคืน  
เดบิตรับคืนสินค้า                   XX
        ภาษีขาย                         XX
        เครดิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า   XX
เดบิตรับคืนสินค้า                       XX
        ภาษีขาย                             XX
        เครดิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า          XX
เดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตต้นทุนขาย                 XX
ไม่บันทึกบัญชี
7.  ค่าขนส่งออกเดบิตค่าขนส่งออก                  XX
        เครดิตเงินสด                       XX
เดบิตค่าขนส่งออก                      XX
        เครดิตเงินสด                               XX
8.  รับชำระหนี้ และมีส่วน
ลดจ่าย
เดบิตเงินสด/ธนาคาร              XX
        ส่วนลดจ่าย                    XX
        เครดิตลูกหนี้การค้า              XX
เดบิตเงินสด/ธนาคาร                  XX
        ส่วนลดจ่าย                        XX
        เครดิตลูกหนี้การค้า                    XX
9.  ต้นทุนขายดูจากยอดคงเหลือของบัญชีต้นทุนขาย ดูจากการคำนวณดังนี้.-
สินค้าคงเหลือต้นงวด                         XX
ซื้อสินค้า                                    XX
บวก ค่าขนส่งเข้า                      XX 
                                                   XX
หัก ส่งคืน          XX
ส่วนลดรับ          XX                  XX      XX
สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย                             XX
หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด                XX
ต้นทุนขาย                                            XX

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้า

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้า
    • สินค้า หมายถึง สินทรัพย์หรือสิ่งที่กิจการค้ามีไว้เพื่อจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรจากการจำหน่ายสินค้า สินค้าถือเป็นสินทรัพย์
    • ส่งคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ซื้อ เป็นรายการที่ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอยู่ในหมวด ค่าใช้จ่าย จะบันทึกทางด้าน Cr. เสมอ
    • รับคืนสินค้า เกิดขึ้นทางด้านผู้ขาย เป็นรายการที่ทำให้รายได้ลดลงอยู่ในหมวด รายได้ จะบันทึกบัญชี Dr.เสมอ
    • ส่วนลดการค้า คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ทันที่ที่ตกลงซื้อขายกันไม่มีการบันทึกส่วนลดการค้าในบัญชีใดๆ จำนวนเงินที่บันทึกรายการซื้อและขายนั้นจะใช้จำนวนเงินที่หักส่วนลดแล้ว
    • ส่วนลดเงินสด คือ ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ตามกำหนดทางด้ายผู้ขายเรียกว่า “ส่วนลดจ่าย” ด้านผู้ซื้อเรียกว่า ส่วนลดรับ เช่น 2/10,N/30 หมายถึง ผู้ซื้อจ่ายชำระภายใน 10 วันจะได้รับส่วนลด 2% กำหนดชำระหนี้ต้องไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ลงในใบกำกับสินค้า
    • F.O.B shipping point หรือค่าขนส่งเข้า อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายถือเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ
    • F.O.B destination หรือค่าขนส่งออก อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย ผู้ขายเป็นผู้จ่าย
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกย่อๆว่า VAT หมายถึงภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วยภาษีซื้อ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ และภาษีขายซึ่งถือว่าเป็นหนี้สิน

การปิดบัญชี

การปิดบัญชี
      การบิดบัญชี (Closing Entry) หมายถึง การทำให้ยอดรวมของด้านเดบิตเท่ากับยอดรวมของด้านเครดิตของแต่ละหมวดบัญชี เช่น บัญชีแยกประเภทมียอดคงเหลือด้านเดบิตจะต้องบันทึกด้านเครดิตด้วยจำนวนเงินที่มียอดคงเหลือ หรือถ้ามียอดคงเหลือทางด้านเครดิตในบัญชีแยกประเภท เมื่อต้องการปิดบัญชีในแยกประเภทก็ต้องนะยอดคงเหลือไปปิดด้านเดบิต
ขั้นตอนการปิดบัญชี
  • ปิดบัญชีรายได้ทุกบัญชีเข้าบัญชีกำไรขาดทุน โดย
      เดบิต รายได้......                      XX
                เครดิต กำไรขาดทุน                XX
  • ปิดบัญชีค่าใช้จ่ายทุกบัญชีเข้าบัญชีกำไรขาดทุน โดย
      เดบิต กำไรขาดทุน                  XX
                เครดิต ค่าใช้จ่าย.....                 XX
  • ปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีส่วนของเจ้าของ
      กรณี กำไร (รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย)
      เดบิต กำไรขาดทุน                  XX
                เครดิต ทุน....                           XX
       กรณี ขาดทุน (รายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย)
      เดบิต ทุน....                             XX
                เครดิต กำไรขาดทุน                XX
  • ในกรณีที่มีเงินถอนหรือถอนใช้ส่วนตัว โดย
      เดบิต ทุน....                             XX
                เครดิต ถอนใช้ส่วนตัว                        XX
                การปิดบัญชีหมวดสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) จะต้องปิดโดยการหายอดคงเหลือยกไปงวดหน้า และเมื่อเริ่มระยะเวลาบัญชีใหม่จะต้องบันทึกรายการปิดบัญชียอดยกมา ส่วนบัญชีถอนใช้ส่วนตัวมียอดคงเหลือด้านเดบิตผิดเข้าบัญชีทุนงบทดลองหลังปิดบัญชี จะแสดงบัญชีเฉพาะหมวดบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนเท่านั้น

งบการเงิน

  งบการเงิน
            งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินขั้นสุดท้ายของขบวนการทางบัญชี เพื่อให้เป็นสื่อแสดงข้อมูลทางการเงินของกิจการเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของกิจการตามงวดบัญชีและตามฐานะการเงิน
ของกิจการว่ามีรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเท่าไหร่
การแสดงงบการเงินโดยทั่วไปแบ่งเป็น
  • งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
  • งบดุล (Balance Sheet)
งบกำไรขาดทุนและงบดุลนั้นสามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ แบบบัญชี (Account Form) และแบบรายงาน (Report Form)
ขั้นตอนการจัดทำงบการเงิน
  • บรรทัดแรกเขียน  “ชื่อกิจการ”
  • บรรทัดที่สองจะต้องระบุชื่องบว่าเป็น  “งบกำไรขาดทุน” หรือ “งบดุล”
  • บรรทัดที่สาม แสดงรอบระยะเวลา หรือวันที่จัดทำงบ
      ถ้าเป็นงบกำไรขาดทุน จะแสดงเป็นรอบระยะเวลาหรือเป็นงวดเวลา เช่น สำหรับ    1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31       ธันวาคม 2545
      ถ้าเป็นงบดุล จะแสดงวันที่ที่จัดทำ โดยระบุวันใดวันหนึ่ง

กระดาษทำการ

กระดาษทำการ

            กระดาษทำการเป็นกระดาษที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำงบการเงินได้สะดวก และรวดเร็ว โดนนำรายการบัญชีจากงบทดลองมาจำแนกรายการว่า รายการใดที่จะนำไปใช้ในการคำนวณหากำไรขาดทุนก็จะนำไปไว้ในช่องงบกำไรขาดทุน และรายการใดที่จะนำไปแสดงฐานะทางการเงินของกิจการก็จะนำไปไว้ในช่องงบดุล
กระดาษทำการไม่ใช่เป็นการบันทึกบัญชีและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน ดังนั้นกิจการจะทำกระดาษทำการหรือไม่ทำก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะมีหลายชนิด เช่น ชนิด 6 ช่อง ชนิด 8 ช่อง และชนิด 10 ช่อง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับประโยชน์และวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้กระดาษทำการ


ขั้นตอนในการจัดทำกระดาษทำการ 6 ช่อง
  • เขียนหัวกระดาษทำการ 3 บรรทัด
  • นำงบทดลองมาแสดงไว้ในกระดาษทำการ 6 ช่อง
  • ผ่านรายการจากงบทดลองไปใส่งบกำไรขาดทุนและงบดุล
  • รวมยอดงบกำไรขาดทุนและงบดุล
  • หาผลต่างของยอดรวม  ในด้านงบกำไรขาดทุนถ้าเครดิตมากกว่าด้านเดบิตถือเป็นกำไรสุทธิ แล้วนำยอดไปใส่ในงบดุลด้านเครดิต ถ้าด้านเดบิตของงบกำไรขาดทุนมากกว่าด้านเครดิตถือว่าขาดทุนสุทธิ นำยอดขาดทุนไปใส่งบดุลด้านเดบิต
  • รวมยอดเงินในช่องงบกำไรขาดทุน และงบดุลให้เท่า

งบทดลอง

งบทดลอง
            งบทดลอง คือ งบที่จัดทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
และผ่านรายการไปสมุดแยกประเภททั่วไปตามระบบบัญชีคู่
            การจำทำงบทดลองมากจาการหายอดคงเหลือในบัญชีต่างๆ จากสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป โดยจำนวนเงินรวมทางด้านเดบิตและเครดิตในงบทดลองจะต้องเท่ากันเสมอ


การหายอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทด้วยดินสอดำเพื่อจัดทำงบทดลอง มีขั้นตอนดังนี้
                                           
1. รวมยอดเงินทั้งหมดในช่องเดบิต  แล้วเขียนจำนวนเงินด้วยดินสอดำในช่องเดบิตชิด
    กับเส้นบรรทัดสุดท้ายต่อจากจำนวนเงินของบัญชีนั้นๆ
2. รวมจำนวนเงินทั้งหมดในช่องเครดิต แล้วเขียนจำนวนเงินด้วยดินสอดำในช่องเครดิตชิด
          กับเส้นบรรทัด สุดท้ายต่อจากจำนวนเงินของบัญชีนั้นๆ
3. หาผลต่างระหว่างจำนวนเงินในช่องเดบิตและเครดิต ดังนี้
          3.1 ถ้ายอดรวมเดบิตมากกว่าเครดิต ผลต่างที่เกิดขึ้นเรียกว่า                 “ยอดเดบิต”ให้เขียนผลต่างลงในช่องรายการด้านเดบิต
          3.2 ถ้ายอดรวมเครดิตมากกว่าเดบิต ผลต่างที่เกิดขึ้นเรียกว่า
                “ยอดเครดิต” ให้เขียนผลต่างลงในช่องรายการด้านเครดิต
          3.3 ถ้าในบัญชีแยกประเภทมีเพียงรายการเดียวหรือด้านเดียว
                ให้ถือว่ารายการนั้นเป็นยอดคงเหลือ
                  
ขั้นตอนการจัดทำงบทดลอง
    1. เขียนรูปแบบที่จะใช้ในการจัดทำงบทดลองและเขียนหัวงบทดลอง
    2. หายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภททั่วไปด้วยดินสอดำ
    3. นำยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภททั่วไปมาใส่ในรูปแบบของงบทดลอง โดยเขียนชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเรียงตามหมวด คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย และใส่จำนวนเงินตามยอดคงเหลือของแต่ละบัญชี
    4. บัญชี 5 หมวดแสดงยอดดังนี้
    5.       หมวดที่ 1        สินทรัพย์                     จะมียอดคงเหลือด้าน  เดบิต       หมวดที่ 2        หนี้สิน                         จะมียอดคงเหลือด้าน เครดิต       หมวดที่ 3        ส่วนของเจ้าของ         จะมียอดคงเหลือด้าน  เครดิต       หมวดที่ 4        รายได้                         จะมียอดคงเหลือด้าน  เครดิต       หมวดที่ 5        ค่าใช้จ่าย                     จะมียอดคงเหลือด้าน  เดบิต
    6. รวมจำนวนเงินช่องเดบิตและเครดิต ยอดรวมของทั้ง 2 ด้านต้องเท่ากัน ก็แสดงว่าการบันทึกบัญชีแยกประเภททั่วไปถูกต้องตามระบบบัญชีคู่

การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท

การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
            สมุดบัญชีแยกประเภท หมายถึง สมุดบันทึกรายการขั้นปลายซึ่งต่อจากการบันทึกในสมุดรายวันขั้นต้นและเป็นที่รวบรวมของบัญชีแยกประเภทต่างๆ เป็นหมวดหมู่ไว้ในเล่มเดียวกัน
            สมุดบัญชีแยกประเภทแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และสมุดบัญชีแยกประเภทย่อย
            การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่างๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดทำบัญชีต่างๆให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน ผังบัญชี ดังนี้
1. หมวดสินทรัพย์                   เลขที่ 100 – 199
2. หมวดหนี้สิน                       เลขที่ 200 – 299
3. หมวดส่วนของเจ้าของ       เลขที่ 300 – 399
4. หมวดรายได้                       เลขที่ 400 – 499
5.หมวดค่าใช้จ่าย                   เลขที่ 500 – 599
*การกำหนดเลขที่บัญชีจะให้ตัวเลขกี่หลักก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของแต่ละกิจการ
 การผ่ายรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
  • เปิดบัญชีแยกประเภท โดยเรียงลำดับตามเลขที่บัญชีที่กำหนดไว้ในผังบัญชีของกิจการ
  • ผ่ายรายการจากสมุดรายวันทั่วไป ตามลำดับวันที่ที่เกิดรายการขึ้น  โดยนำตัวเลขจากสมุดรายวันทั่วไปใส่ไว้ในบัญชีแยกประเภท ถ้าตัวเลขในสมุดรายวันอยู่ด้านเดบิตก็ลงในบัญชีแยกประเภทด้านเดบิต ถ้าอยู่ด้านเครดิตก็ลงด้านเครดิต ในช่องรายการให้อ้างบัญชีตรงข้าม

การบันทึกรายการค้าลงในสมุดรายวันทั่วไป

การบันทึกรายการค้าลงในสมุดรายวันทั่วไป

         สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) คือ สมุดที่ใช้บันทึกรายการขั้นต้นได้ทุกเรื่อง ในกรณีที่กิจการมี
สมุดรายวันทั่วไปเล่มเดียว หรือใช้บันทึกเฉพาะรายการที่ไม่อาจบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะ
เล่มอื่นได้ในกรณีที่กิจการนั้นมีสมุดรายวันหลายเล่ม ซึ่งการบันทึกบัญชีจะทำต่อจาการวิเคราะห์รายการค้า


รายการเปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
            รายการเปิดบัญชี (Opening Entries) หมายถึงรายการแรกของการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งจะบันทึกเมื่อมีการลงทุนครั้งแรก และเริ่มระยะเวลาบัญชีใหม่
การลงทุนครั้งแรกมี 3 กรณี คือ

กรณี 1 นำเงินสดมาลงทุน
ตัวอย่าง ม.ค.1 2546 นายเลิศนำเงินสดมาลงทุน 10,000 บาท

กรณีที่ 2 นำเงินสดและสินทรัพย์อื่นมาลงทุน ซึ่งจะต้องบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปแบบรวม (Compound Journal Entry)
ตัวอย่าง วันที่ 1 มกราคม 2546 นายเลิศนำเงินสดมาลงทุน 10,000 บาท เงินฝากธนาคาร 5,000 บาท
อาคาร 200,000 บาท

กรณีที่ 3 นำเงินสด สินทรัพย์อื่น และหนี้สินมาลงทุน การบันทึกรายการจะต้องเขียนเงินสด สินทรัพย์อื่นให้หมดก่อน ต่อไปเขียนหนี้สินแล้วจึงเขียนทุน
ตัวอย่าง วันที่ 1 มกราคม 2546 นายเลิศนำเงินสด 10,000 บาท เงินฝากธนาคาร 5,000 บาท
อาคาร 200,000 บาท และรับโอนเจ้าหนี้การค้า 50,000 มาลงทุน

เริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ (งวดบัญชีใหม่)
            รอบระยะเวลาบัญชี หมายถึง ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ต้องแสดลงผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของกิจการ ตามกฎหมายกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีให้มีระยะเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันเริ่มกิจการหรือรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ ยกเว้นรอบระยะเวลาบัญชีเพิ่งเริ่มกิจการอาจไม่ครบ 12 เดือนก็ได้


การวิเคราะห์รายการค้า

การวิเคราะห์รายการค้า
               รายการค้า หมายถึง การดำเนินงานในทางการค้าที่ทำให้เกิดการโอนเงินหรือสิ่งของ
มีค่าเป็นเงินระหว่างกิจการค้ากับบุคคลภายนอก เช่น นำเงินสดมาลงทุน ซื้อสินค้าเป็นเงินสด ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ เป็นต้น
                ในการดำเนินธุรกิจย่อมมีรายการค้าและเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา รายการค้า
ที่เกิดขึ้นจะมีผลทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้น
หรือลดลงและเมื่อวิเคราะห์รายการค้าได้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปบันทึกลงสมุดบัญชีต่างๆ

หลักในการวิเคราะห์รายการค้าขั้นต้น 5 ประการ คือ

1. สินทรัพย์เพิ่ม(+)                  ส่วนของเจ้าของเพิ่ม(+)
2.สินทรัพย์ลด(-)                     ส่วนของเจ้าของลด(-)
3.สินทรัพย์อย่างหนึ่งเพิ่ม(+)   สินทรัพย์อีกอย่างหนึ่งลด(-)
4.สินทรัพย์เพิ่ม(+)                   หนี้สินเพิ่ม(+)
5.สินทรัพย์ลด(-)                     หนี้สินลด(-)

ตัวอย่างการวิเคราะห์รายการค้า
1. นางสาวยอดมณีนำเงินสดมาลงทุนในร้าน “ยอดมณี บริการ” จำนวนเงิน 40,000 บาท
สินทรัพย์เพิ่ม(+)                  ส่วนของเจ้าของเพิ่ม(+)
เงินสด 40,000.-                  ทุน-นางสาวยอดมณี 40,000.-

2.ซื้อวัสดุในการให้บริการเป็นเงินเชื่อจากร้านนานาภัณฑ์ 8,000 บาท
สินทรัพย์เพิ่ม(+)                   หนี้สินเพิ่ม(+)
วัสดุ 8,000.-                         เจ้าหนี้-ร้านานาภัณฑ์ 8,000.-

3. ให้บริการเสริมสวยนางประภาศรี 2,000 บาท ยังไม่ได้รับเงิน
สินทรัพย์เพิ่ม(+)                        ส่วนของเจ้าของเพิ่ม(+)
ลูกหนี้-นางประภาศรี 2,000.-     รายได้ค่าเสริมสวย 2,000.-

การเพิ่มขึ้นและลดลงของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของมีผลทำให้สมการบัญชีมี
การเปลี่ยนแปลง แต่สภาพความสมดุลของสมการบัญชีไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจาการวิเคราะห์
รายการค้าแต่ละรายการจะต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างน้อย 2 ด้านเสมอ รายการค้าที่เกิดขึ้นจะนำ
ไปบันทึกบัญชีในประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

ลักษณะของบัญชีคู่แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1. ด้านซ้ายของบัญชี เรียกว่า ด้านเดบิต (Debit = Dr.)
2. ด้านซ้ายของบัญชี เรียกว่า ด้านเครดิต (Credit = Cr.)

หลักการบันทึกบัญชี
1. การบันทึกบัญชีประเภทสินทรัพย์
               สินทรัพย์เพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเดบิต (Dr.)
               สินทรัพย์ลด บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)


2. การบันทึกบัญชีประเภทหนี้สิน
               หนี้สินเพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)
               หนี้สินลด บันทึกบัญชีด้านเดบิต (Dr.)

3.การบันทึกบัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (ทุน)
               ส่วนของเจ้าของ (ทุน) เพิ่ม บันทึกบัญชี ด้านเครดิต (Cr.)
               ส่วนของเจ้าของ (ทุน) ลด บันทึกบัญชีด้านเดบิต (Dr.)



สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

ความหมายของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)
            สินทรัพย์ หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินที่บุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ แบ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น เงินสด ค่าความนิยม ฯลฯ เป็นต้น
            หนี้สิน หมายถึง จำนวนเงินที่บุคคลหรือกิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายให้ในภายหน้า เช่น เจ้าหนี้ เป็นต้น
            ส่วนของเจ้าของ (ทุน) หมายถึง สิทธิความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ที่แท้จริงหรือสินทรัพย์สุทธิ คือ สินทรัพย์ทั้งหมด หัก หนี้สินทั้งหมด
           
            สมการบัญชี
            สมการบัญชี หมายถึง สมการที่ว่าด้วยความเท่ากันของหลักการการบัญชีที่ว่า
    
สินทรัพย์   = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
       A         =  L + OE ( P)
           
จะเห็นได้ว่าเป็นสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)  ซึ่งอาจเขียนเป็นสมการบัญชีได้ดังนี้
กรณีที่ 1  ถ้าไม่มีหนี้สิน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้
                  สินทรัพย์   =          ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
                       A          =          OE (P)
กรณีที่ 2  ถ้ามีหนี้สิน สมการบัญชีจะเป็นดังนี้
                 สินทรัพย์    =          หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
                        A         =          L + OE (P)

งบดุล

งบดุล หมายถึง งบที่แสดงฐานะทางการเงินของบุคคลหรือกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของอยู่เป็นจำนวนเท่าใด

ประเภทของงบดุล
1. งบดุลแบบบัญชี
ตัวอย่าง    แบบฟอร์มของงบดุลแบบบัญชี

ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบัญชี มีดังนี้
ขั้นที่ 1       เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด
                  บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ
                  บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล”
                  บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2       ทางด้านซ้ายมือให้เขียนราละเอียดของสินทรัพย์แสดงรายการต่างๆ ของ สินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่
ขั้นที่ 3       ทางด้านขวามือให้เขียนรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของที่กิจการ      มีอยู่
ขั้นที่ 4       รวมยอดทั้ง 2 ด้านให้เท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน

2. งบดุลแบบรายงาน


ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบรายงานมีดังนี้
ขั้นที่1      เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด
                บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ
                บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล”
                บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2     ตอนบนเขียนคำว่า “สินทรัพย์” และเขียนรายละเอียดต่างๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่                 แล้วรวมยอดทั้งหมดของสินทรัพย์
ขั้นที่ 3     เขียนคำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” ต่อจากสินทรัพย์ ให้แสดงรายการที่                       เป็นหนี้สินก่อนและตามด้วยรายการที่เป็นส่วนของเจ้าของแล้วรวมยอด
                ทั้งหมดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของซึ่งจะมียอดเท่ากับสินทรัพย์


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบัญชี

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบัญชี
 
         การบัญชี (Accounting) หมายถึงศิลปะในการบันทึกเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นจำแนกประเภทหมวดหมู่วิเคราะห์และสรุปผลทางการเงินได้

วัตถุประสงค์ของการบัญชี
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของกิจการ โดยเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง ตามระเบียบปละหลักเกณฑ์
2. สรุปผลการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนด
3. เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง
4. เพื่อให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ 5. เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมและตรวจสอบ
6. เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต
7. เพื่อใช้เป็นรายงานต่อหน่วยงานของรํฐบาลและบุคคลภายนอก เช่น นักลงทุน สถาบัน

ประโยชน์ของการบัญชี
1. เป็นหลักฐานในการอ้างอิงเพื่อประกอบผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลดีหรือผลเสียอย่า
ไร จำได้ทำการปรับปรุง แก้ไขได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบเวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีผลกำไรหรือขาดทุน
อย่างไรบ้าง
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและทุนเป็นจำนวนเท่าใด
4. รวบรวมข้อมูลในการวางแผนในอนาคตของกิจการ
5. ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของฝ่ายบริหารและบุคคลภายนอก